เรื่องของ “ภาษี” ง่ายกว่าที่คุณคิด

0 Comments
ร้านขายอุปกรณ์ช่าง

สำหรับผู้ประกอบการที่เปิดร้านขายอุปกรณ์ช่างที่ยังไม่ยื่นภาษี และอยากรู้ข้อมูลว่าทำไมต้องยื่นภาษีด้วย รวมถึงมีข้อสงสัยในบางประการเกี่ยวกับเรื่องนี้ ส่วนจะมีอะไรบ้าง มาดูกัน

1. ยื่นภาษีร้านค้าได้อย่างไร ?

กรณีทำธุรกิจเปิดร้านขายอุปกรณ์ช่าง หรือร้านค้าอะไรก็ตาม จะต้อง “ยื่นภาษี” เพื่อแสดงรายได้ที่รับมาตลอดทั้งปีซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อไม่ให้สรรพากรเข้ามาตรวจสอบทีหลัง เพราะถ้าโดนตรวจสอบย้อนหลัง อาจต้องเสียภาษีที่มากกว่าเดิมและอาจโดนปรับตามกฎหมายได้

2. การเปิดร้านขายอุปกรณ์ช่างต้องเสียภาษีอะไรบ้าง ?

การเปิดร้านขายอุปกรณ์ช่าง โดยทั่วไปจะต้องมีสถานที่ตั้งและป้ายหน้าร้าน ซึ่งจะมีการเสียภาษีดังนี้

  • ภาษีป้าย
  • ภาษีโรงเรือน
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรณีที่ไม่ได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคล จะต้องทำรายรับ – รายจ่ายตลอดทั้งปี เพื่อสิ้นปีจะต้องเอารายได้ทั้งหมดไปยื่นสรรพากร 

3. บัญชีรายรับรายจ่ายจำเป็นอย่างไร ?

การจ่ายภาษีนั้นมีทางเลือก 2 แบบ คือ

  • แบบเหมา หักต้นทุน 60% เหมาะกับผู้ที่มีอัตรากำไรสูงถึง 40% หรือมากกว่า จะได้ไม่ต้องทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย และไม่ต้องพิสูจน์รายได้สามารถให้สรรพากรเก็บตามนั้นไปเลย
  • แบบค่าใช้จ่ายตามจริง เหมาะกับคนที่มีต้นทุนสูง และมีกำไรน้อยกว่า 40% การทำรายรับ – รายจ่าย และกำไรในทุกๆ เดือนโดยเอาไปสรุปสิ้นปี เพื่อแสดงการเงินและรายได้ชัดเจน 

4. วิธีการคำนวณภาษีอย่างไร?

การคำนวณภาษีร้านขายอุปกรณ์ช่าง สำหรับคนที่ยื่นภาษีบุคคลธรรมดา จะต้องคำนวณคร่าวๆ ดังนี้

กรณีรายได้ 1 ปี หักต้นทุน 60% หักลดหย่อนส่วนตัว 6 หมื่นบาท” ถ้าเกิน 150,000 บาท ต้องเสียภาษี

5. หากไม่ยื่นภาษีจะเป็นอย่างไร?

การที่ไม่แสดงตัวตนไม่ยื่นภาษีร้านขายอุปกรณ์ช่าง อาจจะต้องได้เสียภาษีและโดนค่าปรับจากการเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ในกรณีที่รายได้ของคุณอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องจ่าย โดยมีโทษของการไม่ยื่นภาษี กรณีไม่ยื่นภาษี หรือแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90,91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท

ถ้าเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการ เพื่อเลี่ยงภาษีมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. เอกสารที่ต้องเตรียมในการยื่นภาษี มีอำไรบ้าง ?

  • หลักฐานแสดงรายรับ – รายจ่ายของร้านขายอุปกรณ์ช่างตลอดทั้งปี
  • หลักฐานต้นทุนทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ใบเสร็จหรือบิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ, บิลต้นทุนการซื้อสินค้า, ใบกำกับภาษี, บิลค่าน้ำ ค่าไฟ, บิลค่าเช่าที่ ฯลฯ
  • รายการลดหย่อนภาษีทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร, กองทุนและประกันต่าง ๆ
  • เอกสารประกอบการลดหย่อน เพื่อนำมาใช้ในการกรอกแบบฟอร์มยื่นภาษี เช่น เบี้ยประกันชีวิต, จำนวนเงินที่ซื้อกองทุน

จะเห็นได้ว่า เรื่องของ “ภาษี” ง่ายกว่าที่คิด หากทำความเข้าใจ ก็จะสามารถจัดการเรื่องภาษีได้ง่ายๆ ในทุกๆ ปีอย่างไม่มีปัญหา 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *